ยิ่งชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์มีความเล็กลงมากเท่าใดก็จะยิ่งมีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีใครที่ไม่รู้จักไฟฟ้าสถิต อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต และเครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต เนื่องจากไฟฟ้าสถิตเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหาย และเป็นความเสียหายที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีขนาดเล็กลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในปัจจุบัน
ไฟฟ้าสถิต (ESD: Electrostatic Discharge) มีความสำคัญมากต่อกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยิ่งชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์มีความเล็กลงมากเท่าใดก็จะยิ่งมีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ที่อาจจะถูกถ่ายเทจากคนในสายการผลิต เครื่องมือหรืออุปกร์อื่นๆ ไปยังชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งสิ้น อาจจะมีผลทำให้ค่าทางไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้ชิ้นงานเสียหายหรือคุณภาพชิ้นงานลดลง จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในไทยพบว่า มากกว่า 50% ของงานที่เสียหายเกิดจากไฟฟ้าสถิต
เพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต ในแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมจะมีแนวทางในการเลือกใช้ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละชิ้นส่วนงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ เช่น การลดหรือกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต ด้วยการจัดทำพื้นที่ในสายงานการผลิตด้วยอุปกรณ์หรือวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิต ไม่ว่าจะเป็น
- พื้น ที่เป็นกึ่งตัวนำ (Conductive floor)
- โต๊ะปฏิบัติงาน เก้าอี้
- ชุดและรองเท้าที่สวมใส่
- การควบคุมอากาศ เช่น ความชื้น และความสะอาด
- การสลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่อสายดิน (Grounding) เพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าให้มีค่าต่างศักดิ์เป็น 0 เท่ากับพื้นดิน
- พนักงานในสายการผลิตใช้สายรัดข้อมือ (Wrist strap) พร้อมกับระบบ Grounding
- การใช้พัดลมสลายประจุไฟฟ้าบนโต๊ะปฏิบัติงาน
- อุปกรณ์หรือบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบชิ้นส่วนที่ทนต่อไฟฟ้าสถิต
ภาพจำลองพื้นที่ปฏิบัติงาน สำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์
มาตรฐานการควบคุมไฟฟ้าสถิต ESD Standard
ในปี 2542 สมาคม ESD ได้อนุมัติและเผยแพร่มาตรฐานที่ครอบคลุมการพัฒนาโปรแกรมควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต (ESD) ได้รับการรับรองมาตรฐาน ANSI/ESD S20.20: การพัฒนาโปรแกรมควบคุมการคายประจุไฟฟ้าสถิต เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมข้อกำหนดที่จำเป็นในการออกแบบ สร้าง ใช้งาน และบำรุงรักษาโปรแกรมควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต (ESD) เพื่อปกป้องชิ้นส่วนไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์ที่ไวต่อความเสียหายจากไฟฟ้าสถิต (ESD) จากการปล่อยประจุไฟฟ้าจากแบบจำลองร่างกายมนุษย์ (HBM) ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 100 โวลต์
ANSI/ESD 20.20 มีทั้งข้อกำหนดในด้านการดูแลระบบและด้านเทคนิคที่สามารถปรับให้เข้ากับการใช้งานหรือข้อกำหนดเฉพาะงานได้ ต้องมีแผนการฝึกอบรม และแผนการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (การตรวจสอบเป็นประจำ) องค์ประกอบทางเทคนิคมีข้อกำหนดที่ “เข้มงวด” บางประการ แต่มีตัวเลือกมากมายสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาและดำเนินการตามแผน สำหรับการใช้งานที่เหมาะสมทางเทคนิคเพียงพอและคุ้มค่า ข้อกำหนดทางเทคนิคครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ เช่น การลงกราวด์ การลงกราวด์ส่วนบุคคล พื้นที่คุ้มครอง บรรจุภัณฑ์ การติดฉลาก อุปกรณ์ และการจัดการ ข้อกำหนดทางเทคนิคและคำแนะนำช่วงทางเทคนิคแสดงอยู่ใน ANSI/ESD S20.20 เป็นเอกสารหลักสำหรับมาตรฐาน ESD Association ทั้งหมด
จากข้อกำหนดดังกล่าวในการออกแบบ หรือการเลือกใช้อุปกรณ์จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดและตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจสอบหรือวัดค่าไฟฟ้าสถิตหรือค่าความต้านทานไฟฟ้าของอุปกรณ์นั้นๆ ว่ายังสามารถที่จะใช้งานในพื้นที่การผลิตได้หรือไม่ หรือสามารถที่จะนำข้อมูลที่ตรวจสอบได้มาวิเคราะห์เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆได้มีมาตรฐานอีกด้วย
เครื่องมือวัดค่าไฟฟ้ฟ้าสถิตที่โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีไว้ใช้
- SURFACE RESISTANCE METER KIT ใช้สำหรับการวัดพื้นผิวของวัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต เช่น ESD Floor,ESD Mat, ชุด ESD เป็นต้น
- Static Field Meter Ionization Verification Kit ใช้สำหรับตรวจสอบคุณภาพของ Ionizer และ ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ หรือบริเวณที่ปฏบัติงานเบื้องต้น
- Personnel Grounding Testers (Wrist Strap and Footwear) ใช้สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ รองเท้าที่สวมก่อนเข้าพื้นที่ทำงาน
Product: www.esdforyou.com
หากสนใจสินค้าโปรดติดต่อเรา – เราพร้อมบริการและให้คำแนะนำทันที
Line@ : https://lin.ee/4HoPAtx
YouTube : Mostori Automaiton & Solutions
————————————————