ยิ่งชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์มีความเล็กลงมากเท่าใดก็จะยิ่งมีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีใครที่ไม่รู้จักไฟฟ้าสถิต อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต และเครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต เนื่องจากไฟฟ้าสถิตเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหาย และเป็นความเสียหายที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีขนาดเล็กลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในปัจจุบัน

ไฟฟ้าสถิต (ESD: Electrostatic Discharge) มีความสำคัญมากต่อกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยิ่งชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์มีความเล็กลงมากเท่าใดก็จะยิ่งมีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ที่อาจจะถูกถ่ายเทจากคนในสายการผลิต เครื่องมือหรืออุปกร์อื่นๆ ไปยังชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งสิ้น อาจจะมีผลทำให้ค่าทางไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้ชิ้นงานเสียหายหรือคุณภาพชิ้นงานลดลง จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในไทยพบว่า มากกว่า 50% ของงานที่เสียหายเกิดจากไฟฟ้าสถิต

แนวทางการป้องกันไฟฟ้าสถิต

เพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต ในแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมจะมีแนวทางในการเลือกใช้ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละชิ้นส่วนงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ เช่น การลดหรือกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต ด้วยการจัดทำพื้นที่ในสายงานการผลิตด้วยอุปกรณ์หรือวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิต ไม่ว่าจะเป็น

  • พื้น ที่เป็นกึ่งตัวนำ (Conductive floor)
  • โต๊ะปฏิบัติงาน เก้าอี้
  • ชุดและรองเท้าที่สวมใส่
  • การควบคุมอากาศ เช่น ความชื้น และความสะอาด
  • การสลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่อสายดิน (Grounding) เพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าให้มีค่าต่างศักดิ์เป็น 0 เท่ากับพื้นดิน
  • พนักงานในสายการผลิตใช้สายรัดข้อมือ (Wrist strap) พร้อมกับระบบ Grounding
  • การใช้พัดลมสลายประจุไฟฟ้าบนโต๊ะปฏิบัติงาน
  • อุปกรณ์หรือบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบชิ้นส่วนที่ทนต่อไฟฟ้าสถิต

ภาพจำลองพื้นที่ปฏิบัติงาน สำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์

มาตรฐานการควบคุมไฟฟ้าสถิต ESD Standard

ในปี 2542 สมาคม ESD ได้อนุมัติและเผยแพร่มาตรฐานที่ครอบคลุมการพัฒนาโปรแกรมควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต (ESD) ได้รับการรับรองมาตรฐาน ANSI/ESD S20.20: การพัฒนาโปรแกรมควบคุมการคายประจุไฟฟ้าสถิต เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมข้อกำหนดที่จำเป็นในการออกแบบ สร้าง ใช้งาน และบำรุงรักษาโปรแกรมควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต (ESD) เพื่อปกป้องชิ้นส่วนไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์ที่ไวต่อความเสียหายจากไฟฟ้าสถิต (ESD) จากการปล่อยประจุไฟฟ้าจากแบบจำลองร่างกายมนุษย์ (HBM) ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 100 โวลต์

ANSI/ESD 20.20 มีทั้งข้อกำหนดในด้านการดูแลระบบและด้านเทคนิคที่สามารถปรับให้เข้ากับการใช้งานหรือข้อกำหนดเฉพาะงานได้ ต้องมีแผนการฝึกอบรม และแผนการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (การตรวจสอบเป็นประจำ) องค์ประกอบทางเทคนิคมีข้อกำหนดที่ “เข้มงวด” บางประการ แต่มีตัวเลือกมากมายสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาและดำเนินการตามแผน สำหรับการใช้งานที่เหมาะสมทางเทคนิคเพียงพอและคุ้มค่า ข้อกำหนดทางเทคนิคครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ เช่น การลงกราวด์ การลงกราวด์ส่วนบุคคล พื้นที่คุ้มครอง บรรจุภัณฑ์ การติดฉลาก อุปกรณ์ และการจัดการ ข้อกำหนดทางเทคนิคและคำแนะนำช่วงทางเทคนิคแสดงอยู่ใน ANSI/ESD S20.20 เป็นเอกสารหลักสำหรับมาตรฐาน ESD Association ทั้งหมด

จากข้อกำหนดดังกล่าวในการออกแบบ หรือการเลือกใช้อุปกรณ์จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดและตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจสอบหรือวัดค่าไฟฟ้าสถิตหรือค่าความต้านทานไฟฟ้าของอุปกรณ์นั้นๆ ว่ายังสามารถที่จะใช้งานในพื้นที่การผลิตได้หรือไม่ หรือสามารถที่จะนำข้อมูลที่ตรวจสอบได้มาวิเคราะห์เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆได้มีมาตรฐานอีกด้วย

เครื่องมือวัดค่าไฟฟ้ฟ้าสถิตที่โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีไว้ใช้

  1. SURFACE RESISTANCE METER KIT ใช้สำหรับการวัดพื้นผิวของวัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต เช่น ESD Floor,ESD Mat, ชุด ESD เป็นต้น
  2. Static Field Meter Ionization Verification Kit ใช้สำหรับตรวจสอบคุณภาพของ Ionizer และ ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ หรือบริเวณที่ปฏบัติงานเบื้องต้น
  3. Personnel Grounding Testers (Wrist Strap and Footwear) ใช้สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ รองเท้าที่สวมก่อนเข้าพื้นที่ทำงาน

Product: www.esdforyou.com

หากสนใจสินค้าโปรดติดต่อเรา – เราพร้อมบริการและให้คำแนะนำทันที
Line@ : https://lin.ee/4HoPAtx
YouTube  : Mostori Automaiton & Solutions

————————————————